ภาษา:




2018
ราคา:
0 บาท
เลขสินค้า Post ID :
1509722773
Email :
info@intellichems.com
ลงประกาศวันที่ :
2017-11-03
เวลาแก้ไขประกาศ:
2017-11-03 22:26:13
ตำแหน่งสินค้าบริการ :
จำนวนคนสนใจ:
3029
Messager พูดคุยสอบถาม:
ข้อความถึง:
QR code:
ติดต่อ:
02-635-6435

รายละเอียด

สินค้าที่คุณคู่ควร น้ำยาซีโร่ โรเดียม(Zero Rhodium), Rhodium Plating solution, jewelry Rhodium สินค้ามีคุณภาพนำเข้าจากประเทศผู้นำแฟชั่นระดับโลกอย่างประเทศอิตาลี และงานยาสีอีนาเมล (Enamel colors) สีหลากหลาย สีติดทนนาน ขั้นตอนการลงง่าย ไม่ยุ่งยาก คุณสามารถออกแบบสีและลงสีได้เองที่บ้าน...บริษัทอินเทลลิเคม จำกัด (Intellichems  Co.,Ltd)

บริษัท อินเทลลิเคม จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการชุบ น้ำยาชุบและงานลงสีอีนาเมล http://www.intellichems.com


งานอีเว้นประจำเดือนพฤศจิกายน 2017

- วันที่ 8-10 พฤศจิกายน ไปพบ เยียมเยียนลูกค้าที่ประเทศพม่า

- วันที่ 16-20 พฤศจิกายน จัดบูท งาน Chiang Mai Gems & Jewelry Manufacturing Expo 2017 ที่จังหวัดเชียงใหม่

- วันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2017 ไปพบลูกค้าเพื่อให้คำแนะนำการชุบโรเดี้ยม  ที่ประเทศลาว


พบกันในงาน Chiang Mai & Jewelry Manufacturing Expo 2017

ณ ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติ จ.เชียงใหม่

ระหว่างวันที่ 17-20 พฤศจิกายน 2017

บูทเลขที่ S22- S23

 ในปัจจุบัน โลหะเงินเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างมากและจัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย แต่ปัญหาหนึ่งที่ทำให้เครื่องประดับเงินมีคุณค่าลดลง คือ เรื่องความหมอง ถ้าวางโลหะเงินทิ้งไว้ในอากาศจะเกิดการหมอง ปริญญานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการต้านทานความหมองของโลหะเงินที่ผ่านวิธีการใช้โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนสร้างฟิล์มที่ผิวหน้าในระยะเวลาที่แตกต่างกัน

โดยเทียบกับความต้านทานการหมองของโลหะเงิน ด้วยวิธีการชุบน้ำยากันหมองโดยใช้ไฟฟ้า โดยใช้วิธีทดสอบเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ในการทดสอบ หาคุณภาพชั้นฟิล์มของความต้านทานการหมอง ชิ้นทดสอบโลหะเงินผสมธาตุเจือจะถูกนำไปขัดเงาด้วยวิธีการ 2 แบบ คือ ขัดเงาโดยใช้ยาดิน-ยาแดง และขัดเงาโดยใช้ผงอลูมิน่า จากนั้นชิ้นงานทดสอบจะถูกนำไปวัดค่าความสะท้อนแสงและทำการ SAM แล้วนำทดสอบทางเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ จากนั้นนำค่าความต้านทานของฟิล์มที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเลือกวิธีการขัดในการเตรียมผิวชิ้นงาน

ส่วนกระบวนการที่ใช้ในการสร้างฟิล์มเพื่อป้องกันการหมองมี 2 วิธีคือ การใช้โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนสร้างฟิล์มที่ผิวหน้าและวิธีการชุบ น้ำยากันหมองโดยใช้ไฟฟ้า จากนั้นวางชิ้นงานทิ้งไว้ในสภาพอากาศปกติเป็นระยะเวลาต่างๆกัน คือ 1วัน, 1สัปดาห์, 1เดือน และ3เดือน แล้วจึงนำชิ้นงานทดสอบมาทดสอบหาคุณภาพฟิล์มต้านทานความหมองโดยใช้การทดสอบ เคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ ผลการทดลองพบว่า เมื่อทำการทดสอบวัดค่าความสะท้อนแสง ชิ้นทดสอบที่ผ่านการ SAM จะมีค่า ความสะท้อนแสงมากกว่าชิ้นทดสอบที่ผ่านการชุบน้ำยากันหมองโดยใช้ไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลาที่วาง ทิ้งไว้ในสภาพอากาศปกติเท่ากัน และเมื่อทดสอบทางเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ ชิ้นทดสอบที่ผ่านการ SAM มีค่าความต้านทานการหมองมากกว่าชิ้นทดสอบที่ผ่านการชุบน้ำยากันหมองเมื่อ เปรียบเทียบในระยะเวลาที่วางทิ้ง ไว้ในสภาพอากาศปกติเท่ากัน และธาตุเจือที่ผสมในโลหะเงินไม่มีผลต่อคุณภาพของชั้นฟิล์มต้านทานการหมอง การชุบเคลือบผิวเครื่องประดับด้วยไฟฟ้า เช่น การชุบทอง เงิน นาก ว่ากันว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว

ปัจจุบันยังคงพบเห็นร้านรับชุบเครื่องประดับ เครื่องหมาย และของที่ระลึกต่างๆ ตามแหล่งชุมชนอยู่บ้าง โดยมักเป็นร้านขนาดเล็กที่ทำคนเดียว ใช้พื้นที่หน้าร้านเพียงเล็กน้อยตั้งอุปกรณ์ รวมไปถึงร้านที่ทำเป็นกิจการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 4-5 คน ทำงานในห้องแถวเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่สามารถชุบชิ้นงานได้เป็นร้อย ๆ ชิ้นในการชุบครั้งเดียว

การชุบโลหะไม่มีค่าประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

การชุบทองแดงด่าง เป็นการชุบรองพื้นเพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิว ชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว

ส่วนการชุบทองแดงกรด จะทำให้ผิวเรียบมันเงาทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรืออโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่น ๆ

ในการชุบจริงอาจมีการลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงานด้วย เช่น หากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น

การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน: การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20 – 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน

น้ำยาชุบทองแดงด่าง : สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียมคาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น

น้ำยาชุบทองแดงกรด : เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟุริกหรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น

น้ำยาชุบนิกเกิล : มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริค น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่น

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.intellichems.com